นับถอยหลัง เหลือเวลาอีกเพียงไม่กี่ชั่วโมง ที่ออกซิเจน ภายใน “เรือดำน้ำ ไททัน” ใกล้จะหมดลง นับตั้งแต่ที่เรือดำน้ำ ไททัน พร้อมผู้โดยสาร 5 ชีวิต หายไป หลังจากดำดิ่งลงไปก้นมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อชมซาก “เรือไททานิค” ในระดับความลึก 3,800 เมตร ซึ่งออกซิเจนจะมีอยู่ราว 96 ชั่วโมง หรือ 4 วัน จากวันที่เรือดำน้ำหายไป 18 มิ.ย. 2566 (ตามเวลาท้องถิ่น) เรือดำน้ำ “ไททัน” ซึ่งพานักท่องเที่ยวชมซาก “เรือไททานิค” ของบริษัท โอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชันส์ (OceanGate Expeditions) สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย ใต้มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ โดยขาดการติดต่อหลังออกเดินทางไปได้ 1 ชั่วโมง 45 นาที ในเรือลำดังกล่าว มีผู้โดยสารและลูกเรืออยู่ในเรือดำน้ำทั้งหมด 5 ชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาเศรษฐี และเจ้าของบริษัททัวร์เรือดำน้ำ OceanGate ซึ่งคาดว่าจะเป็นคนขับเรือดำน้ำ ไททัน ด้วย
หลังจากนั้น เกิดการค้นหาครั้งยิ่งใหญ่ โดยทางการสหรัฐฯ และแคนาดา ระดมทั้งเรือ และเครื่องบิน ออกค้นหาเรือรอบพื้นที่ประมาณ 1,450 กิโลเมตร ทางตะวันออกของเคปคอด (Cape Cod) บางลำทิ้งทุ่นโซนาร์ ที่สามารถตรวจสอบได้ลึกเกือบ 4,000 เมตร แต่การค้นหาซับซ้อน เนื่องจากไม่ทราบว่าเรือยังดำน้ำอยู่ หรือโผล่ขึ้นผิวน้ำมาแล้ว นั่นหมายความว่าทีมค้นหาต้องค้นหาทั้งผิวน้ำและใต้มหาสมุทรลึกเกือบ 4,000 เมตรภารกิจครั้งนี้ ใช้ทีมงานจากหลายฝ่าย อาทิ ทีมกู้ภัยจากกองทัพเรือ กองทัพอากาศ และหน่วยยามชายฝั่งทั้งของสหรัฐฯ และแคนาดา นอกจากนี้ ยังมีกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิจากนิวยอร์ก และเรือวิจัยของฝรั่งเศส ร่วม
โอกาสรอดชีวิตทั้ง 5 คน "ถ้ายังรอดอยู่ การลงไปช่วยก็ยากมาก ๆ
อากาศภายในเรือดำน้ำไททันที่ลดลงเรื่อย ๆ ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงโอกาสรอดชีวิตของลูกเรือและผู้โดยสาร 5 คน ซึ่ง น.ท.สุระ ได้ตอบคำถามที่มีประชาชนทั่วโลกสอบถามเข้ามา ผ่านหน้าการรายงานสดของบีบีซีภาคภาษาอังกฤษ ตลอดคืนวันที่ 20 มิ.ย.ในมุมมองของ น.ท.สุระ ยังไม่กล้าประเมินถึงโอกาสรอดชีวิต แต่หากประเมินช่วงเวลาที่เรือดำน้ำขาดการติดต่อไป คือ หลังลงใต้น้ำ 1 ชั่วโมง 45 นาที หมายความว่า เรือน่าจะอยู่เกือบถึงก้นทะเลแล้ว “ถ้ายังรอดอยู่ การลงไปช่วยก็ยากมาก ๆ หรือถ้าขาดการติดต่อไปเลย ก็มีโอกาสว่า เกิดความเสียหายร้ายแรง หรือว่าตัวยานเสียหายจนกระทั่ง น้ำทะเลเข้าไปได้ เป็นไปได้หลายอย่าง” เขากล่าว
ได้ยินเสียงดังใต้น้ำทุกๆ 30 นาที สัญญาณดังกล่าวนับเป็นความหวังว่า
และวันที่ 21 มิ.ย. 2566 สัญญาณที่มีความหวังก็ได้เกิดขึ้น เมื่อมีการยืนยันพบสัญญาณบางอย่างระหว่างการค้นหา โดยหน่วยค้นหา ระบุว่า ได้ยินเสียงดังใต้น้ำทุกๆ 30 นาที หลังจากมีการนำอุปกรณ์โซนาร์มาใช้ในภารกิจ โดยเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลา 4 ชั่วโมง นับตั้งแต่ตรวจพบเสียงครั้งแรก แต่ไม่แน่ชัดว่าเสียงดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อไร และยังไม่สามารถระบุที่มาของเสียงได้
สุดท้ายแล้วมีการประเมินปริมาณออกซิเจนภายในเรือดำน้ำไททัน จะหมดลงในช่วงค่ำของวันที่ 22 มิ.ย. 2566 (ตามเวลาในประเทศไทย) หรือ ประมาณเวลา 12.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรืออาจน้อยกว่านั้นนั่นจึงเป็นความท้าทาย ของทีมค้นหากับวินาทีเป็นวินาทีตายของผู้โดยสารทั้ง 5 ชีวิต